Help us protect the commons. Make a tax deductible gift to fund our work in 2025. Donate today!
Barriers to Sharing Lowered by Creative Commons Licenses in Thailand
About CCBangkok, Thailand and Berlin, Germany
Creative Commons Thailand has adapted the Creative Commons licenses to Thai law. The localized licenses, launching April 2, enable Thai creators to easily share creative works by lowering legal barriers and prohibitive transaction costs.
The Thai team, led by Mr. Phichai Phuechmongkol of Dharmniti Law Office (DLO), conducted the porting and public discussion of the Thai licenses with local and international legal experts. These efforts draw upon partners working pro-bono on the project from DLO, Change Fusion Institute, Thammasat University, and Prince of Songkla University, with generous support from the Thai Health Promotion Foundation’s ICT Plan for Online Health and Partner Support.
The localized licenses, the fifty-first completed worldwide, are the result of close collaboration with Creative Commons International, the coordinator of Creative Commons’ global projects.
In a statement on the launch’s importance, CC Thailand explains, “Adoption of the six core Thai licenses will lead to a cordial climate for sharing knowledge and creative works. This climate is especially desirable in a developing nation such as Thailand, whose citizens are dedicated to a culturally sustainable society that is also open to integration and cooperation. The Creative Commons licenses will help Thai society achieve these goals by enabling practical and reasonable copyright protection, while facilitating the sharing, distribution, use, and adaption of creative works both existing and newly-created.”
The launch will be held at the Bangkok Art and Culture Centre on April 2 from 1:00-4:00pm. It will feature a seminar on Free Culture and Open Models of Digital Distribution and a CC showcase. Project Leads Phichai Phuechmongkol and Sunit Shrestha will conduct opening remarks, followed by speeches from key supporters: Wanchat Padungrat (Pantip.com), Supap Rimthepathip (Creative New Media Network), and award-winning author Prabda Yoon.
CC Thailand also announces its outreach campaign. “This launch does not mark the end of our efforts. Rather, it is the beginning of an ambitious campaign to promote the licenses for Thai creators. Our network will reach out to diverse content providers and present them with the concept of free and open culture. We hope to eventually persuade them to revisit their licensing policies and consider more flexible, reasonable solutions like Creative Commons.”
About Dharmniti Law Office
Founded in 1947 by Pradit Premyothin and with the guidance of Buth Khandhawit in 1978, the Dharmniti Law Office Co., Ltd. (DLO) has become one of the most well-respected law offices in Thailand, providing quality legal services for both local and international clients. DLO offers a full range of legal services with a staff of over 100 persons including over 50 talented lawyers.
For more information about Dharmniti Law Office, visit http://www.thailandlawoffice.com/ (English) & http://www.dlo.co.th/ (Thai).
About Creative Commons
Creative Commons is a not-for-profit organization, founded in 2001, that promotes the creative re-use of intellectual and artistic works, whether owned or in the public domain. Through its free copyright licenses, Creative Commons offers authors, artists, scientists, and educators the choice of a flexible range of protections and freedoms that build upon the “all rights reserved” concept of traditional copyright to enable a voluntary “some rights reserved” approach. Creative Commons was built with and is sustained by the generous support of organizations including the Center for the Public Domain, Omidyar Network, The Rockefeller Foundation, The John D. and Catherine T. MacArthur Foundation, and The William and Flora Hewlett Foundation, as well as members of the public.
For more information about Creative Commons, visit
https://creativecommons.org.
Contact
Dr. Catharina Maracke
Director
Creative Commons International
+49 302 191 582 66
Press Kit
https://creativecommons.org/presskit
https://creativecommons.org/international/th
/////////////////
ลดอุปสรรคในการแบ่งปันงานสร้างสรรค์ในประเทศไทย ด้วยสัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์
2 เมษายน 2552 – กรุงเทพ, ประเทศไทย และกรุงเบอร์ลิน, ประเทศเยอรมัน
เครือข่ายครีเอทีฟคอมมอนส์ประเทศไทย ได้ปรับแก้สัญญาอนุญาตฉบับทั่วไปของครีเอทีฟคอมมอนส์ ให้สอดคล้องกับกฎหมายไทยเสร็จเรียบร้อยแล้ว สัญญาอนุญาตสำหรับประเทศไทย ซึ่งจะเปิดตัว ในวันที่ 2 เมษายน ศกนี้ ทำให้ผู้สร้างสรรค์ชาวไทย สามารถแบ่งปันงานสร้างสรรค์ ได้ง่ายขึ้น โดยการลดค่าใช้จ่ายและอุปสรรคทางกฎหมายในการเผยแพร่งานสร้างสรรค์
คณะทำงานชาวไทย นำโดยคุณพิชัย พืชมงคล จากสำนักกฎหมายธรรมนิติ (Dharmniti Law Office : DLO) ได้ปรึกษาหารือกับผู้เชี่ยวชาญกฎหมายชาวไทยและต่างประเทศ อย่างเปิดเผยผ่านเวทีสาธารณะ และดำเนินการปรับแก้สัญญาอนุญาต แบบไม่มีค่าตอบแทน โดยได้รับความร่วมมือจากบุคคลและหน่วยงานจำนวนมาก เช่น สำนักกฎหมายธรรมนิติ, สถาบัน Change Fusion, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และได้รับการสนับสนุนจากแผนงาน ICT เพื่อสุขภาวะออนไลน์และภาคีเครือข่าย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
สัญญาอนุญาตสำหรับประเทศไทย ซึ่งได้ปรับแก้ให้สอดคล้องกับกฎหมายท้องถิ่น เป็นลำดับที่ 51 ของโลก เป็นผลงานที่เกิดจากความร่วมมืออย่างใกล้ชิดระหว่างสำนักกฎหมายธรรมนิติ กับ Creative Commons International ซึ่งเป็นองค์กรประสานงานทางสากลของครีเอทีฟคอมมอนส์
เครือข่ายครีเอทีฟคอมมอนส์ประเทศไทย อธิบายถึงความสำคัญของการเปิดตัวสัญญาอนุญาตสำหรับประเทศไทยว่า ” สัญญาอนุญาตหลักหกฉบับสำหรับประเทศไทยนี้ จะส่งเสริมบรรยากาศในการแบ่งปันความรู้และงานสร้างสรรค์ ให้เสรีและเปิดกว้างมากยิ่งขึ้นในสังคมไทย บรรยากาศเช่นนี้ เป็นผลดีอย่างยิ่ง โดยเฉพาะต่อประเทศกำลังพัฒนาเช่นประเทศไทย ที่ซึ่งชาวไทย มุ่งหมายในการรักษาวัฒนธรรมของสังคมไทยให้ยั่งยืน แต่ก็เปิดกว้างในการร่วมมือและแลกเปลี่ยนกับสังคมอื่น ๆ สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์ จะช่วยให้สังคมไทยบรรลุถึงเป้าหมายทั้งสองด้าน คือการปกป้องคุ้มครองลิขสิทธิ์ในงานสร้างสรรค์ที่เหมาะสมและมีเหตุผล ในขณะเดียวกัน ก็อำนวยความสะดวกในการแบ่งปัน เผยแพร่ ใช้และพัฒนางานสร้างสรรค์ ทั้งที่มีอยู่เดิมและที่จะสร้างขึ้นใหม่ ”
งานเปิดตัว จัดขึ้นในวันที่ 2 เมษายน เวลา 13:00 – 16:00 น. ที่หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ในงานมีการเสวนาเรื่อง “วัฒนธรรมเสรีกับการเผยแพร่เงานสร้างสรรค์ดิจิทัลแบบเปิดกว้าง ” และตัวอย่างการใช้สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์ คุณพิชัย พืชมงคล ผู้นำโครงการฯ และคุณสุนิตย์ เชรษฐา เป็นผู้กล่าวเปิดงาน ตามด้วยการอภิปรายของผู้สนับสนุน รายหลัก ๆ ได้แก่ คุณวันฉัตร ผดุงรัตน์ จากเว็บพันทิพดอทคอม (Pantip.com), คุณสุภาพ หริมเทพาธิป จากเครือข่ายสื่อใหม่สร้างสรรค์ และคุณปราบดา หยุ่น นักเขียนผู้ชนะรางวัล
เครือข่ายครีเอทีฟคอมมอนส์ประเทศไทย ประกาศโครงการรณรงค์ส่งเสริมการใช้สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์โดยกล่าวว่า “การเปิดตัวสัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์ ไม่ได้หมายความว่า งานของเราเสร็จแล้ว หากแต่เป็นการเริ่มต้นของโครงการรณรงค์ที่ใหญ่กว่าเดิม ในการสนับสนุนผู้สร้างสรรค์ชาวไทย ให้นำสัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์ไปใช้กับงานสร้างสรรค์ของตน เครือข่ายฯ จะเข้าไปปรึกษาหารือกับผู้สร้างสรรค์งานประเภทต่างๆ เพื่อนำเสนอแนวคิดวัฒนธรรมเสรีและเปิดกว้าง เราหวังว่า ในที่สุด จะสามารถชักชวนผู้สร้างสรรค์งานเหล่านั้น ให้ทบทวนแนวทางการอนุญาต และพิจารณาแนวทางที่ยืดหยุ่นและมีเหตุผล ด้วยการใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์ ”
เกี่ยวกับสำนักกฎหมายธรรมนิติ
สำนักกฎหมายธรรมนิติ ก่อตั้งในปี 2490 โดยคุณประดิษฐ์ เปรมโยธิน จนเมื่อปี 2521 คุณบุศย์ ขันธวิทย์ ได้นำสำนักกฎหมายธรรมนิติ สู่การเป็นสำนักกฎหมายที่ได้รับความเชื่อถือมากที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศไทย สำนักกฎหมายธรรมนิติ ให้บริการทางกฎหมายที่มีคุณภาพแก่ลูกค้าทั้งในประเทศและต่างประเทศ แบบครบวงจร ด้วยทีมงานมากกว่า 100 คน รวมถึงนักกฎหมายที่มีความสามารถมากกว่า 50 คน
สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับสำนักกฎหมายธรรมนิติ เข้าชมได้ที่ http://www.dlo.co.th/ (ภาษาไทย) และ http://www.thailandlawoffice.com/ (ภาษาอังกฤษ)
เกี่ยวกับครีเอทีฟคอมมอนส์
ครีเอทีฟคอมมอนส์ (Creative Commons) เป็นองค์กรประเภทไม่แสวงหาผลกำไร ก่อตั้งเมื่อปี 2544 เพื่อส่งเสริมการนำงานด้านศิลปะและวิชาการ ทั้งที่มีลิขสิทธิ์และที่เป็นสาธารณสมบัติ มาใช้งานซ้ำอย่างสร้างสรรค์ ครีเอทีฟคอมมอนส์ เสนอให้นักเขียน ศิลปิน นักวิทยาศาสตร์และนักการศึกษา เลือกใช้สัญญาอนุญาตแบบต่าง ๆ ซึ่งมีลิขสิทธิ์และไม่มีค่าใช้จ่าย โดยยืดหยุ่นตามระดับความคุ้มครองและเสรีภาพที่เหมาะสม บนพื้นฐานของแนวคิด “สงวนสิทธิ์บางประการ” แทนที่การใช้สัญญาอนุญาตตามกฎหมายลิขสิทธิ์แบบดั้งเดิม ที่อยู่บนพื้นฐานของแนวคิด “สงวนลิขสิทธิ์ “ ครีเอทีฟคอมมอนส์ ก่อตั้งและได้รับการสนับสนุนอย่างมากจากหน่วยงานต่าง ๆ ได้แก่ ศูนย์เพื่อสาธารณะสมบัติ (Center for the Public Domain), เครือข่ายโอมิดยา (Omidya Network), มูลนิธิรอคกี้เฟลเลอร์ (Rockefeller Foundation), มูลนิธิจอห์น ดี. และคาเธอรีน ที. แมคอาร์เธอร์ (The John D. and Catherine T. MacArthur Foundation), และมูลนิธิวิลเลียม และฟลอร่า ฮิวเล็ทท์ (The William and Flora Hewlett Foundation) รวมทั้งได้รับการสนับสนุนจากสาธารณะชนทั่วไป
สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับครีเอทีฟคอมมอนส์ เช้าชมได้ที่ https://creativecommons.org.
ติดต่อ
Dr. Catharina Maracke
Director
Creative Commons International
+49 302 191 582 66
ข้อมูลสำหรับสื่อ
https://creativecommons.org/presskit
https://creativecommons.org/international/th